วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

Phayathai Palace พระราชวังพญาไท (1) สถานที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


พระราชวังพญาไท เป็นพระราชวังอีกแห่งหนึ่งที่มีความน่าสนใจ และอยู่ไม่ไกลจากใจกลางเมืองมากแถมยังเดินทางสะดวกด้วย รีวิวครั้งนี้จึงอยากจะแนะนำสถานที่หนึ่งที่ทรงคุณค่าและควรแก่การอนุรักษ์ให้อยู่คู่กับประเทศไทยต่อไปครับ  รีวิวนี้ขอแบ่งเป็น 2 ตอน หนังทั้งภาพและตัวหนังสือเลยทีเดียว


ครั้งนี้ขอเอารายละเอียดสถานที่ขึ้นก่อนนะ :)
สถานที่: พระราชวังพญาไท
การเดินทาง: BTS อนุสาวรีย์  จากนั้นเดินซัก 1 กิโลเมตร (ถือว่าออกกำลังกายละกัน) มาบริเวณโรงพญาบาลพระมงกุฎ ซึ่งสามารมองเห็นได้แต่ไกลจากทางเชื่อมรถไฟฟ้าเลย ไม่หลงแน่
เวลาทำการ:  เปิดให้เข้าชมภายในเฉพาะเสาร์ และอาทิตย์  มี 2 รอบ 9.30 และ 13.30 ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร เหมาะสมกับผู้ที่ืชื่นชอบประวัติศาสตร์ เพราะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงทีเดียว


ด้านหน้า จะเห็นหลังคาทรงแหลม ขอไม่เรียกว่าโดม เพราะโดมต้องเป็นหลังคาทรงครึ่งวงกลม




ยังมีบ้านนกด้วย สร้างให้เข้ากับสถาปัตยกรรมและหลังคายอดแหลม


ประเทศไทย มี Universal Design มานานแล้ว สังเกตจากบันไดที่ขั้นไม่สูงทำให้ก้าวขึ้นได้ง่าย เนื่องจากสมัยก่อนรัชกาลที่ 6 เคยได้รับการผ่าไส้ติ่ง (ขออภัยที่ไม่ทราบราชาศัพท์) ซึ่งวิทยาการทางการแพทย์ยังไม่รุดหน้าเหมือนสมัยนี้ ทำให้แผลของท่านหายไม่สมบูรณ์ เวลาท่านทรงเดินจะเจ็บที่แผล การสร้างขั้นบันไดแบบนี้จะช่วยบรรเทาพระอาการประชวรของท่านได้


โคมไฟทำจากหินอลาสบาสเตอร์


เข้ามาภายใน  เพื่อรวมกลุ่มนำเที่ยว ซึ่งคุณพี่มัคคุเทศก์ก็จะให้เกร็ดความรู้ต่างๆที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งบางเรื่องก็อาจจะไม่เกี่ยวกับพระราชวัง แต่ก็ช่วยให้ทราบวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนที่น่าสนใจมากๆ จึงอยากมาแชร์

ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับพระราชวัง สามารถข้ามไปได้จ้า

- ร.5 ประชวรบ่อยๆ จึงตั้งพระราชวังสวนดุสิต และย้ายพระที่นั่งจากสีชังมาวิมานเมฆ
- ร.5 ทรงเรียก สวนดุสิตว่าบ้าน ส่วนพระบรมมหาราชวังเป็น Office เพราะใช้ออกว่าราชการ
- อ่างศิลา เป็นที่เที่ยวทะเลที่ร.4 พระราชทานให้ชาวตะวันตก
- ราชวิถี เดิมก็ชื่อว่าซังฮี้ แปลว่า ยินดี  โดย ร.6 ทรงเปลี่ยน
- ประเทศไทยมีชื่อถนนตามเครื่องถ้วยจีน เช่น เขียวไข่กา
- บ้านไทยโบราณหน้าบ้านมักหันทางน้ำ เพราะน้ำเป็นการเดินทางสายหลัก
- หัวลำโพง เกิดจากการผสมผสานของความเจริญ 2 ประเทศ คืออังกฤษและเยอรมัน โดยรถไฟสายใต้อังกฤษเป็นผู้วางกว้าง    1 เมตร สายเหนือเยอรมันวางกว้าง 1.435 เมตร
- บริเวณเซ็นทรัลเวิร์ล เคยเป็นที่ตั้งของ วังเพชรบูรณ์

อันนี้คือที่พอจะจับใจความได้ หากมีส่วนใดผิดพลาด สามารถคอมเมนท์ให้แก้ไขเพื่อให้ถูกต้องได้นะครับ

เริ่มต้นการชมวังเลยละกัน

วิทยาการจะเชิญให้มานั่งในพระที่นั่งพิมานจักรีครับ จะเล่าเรื่องต่างๆเกี่ยวกับวังแห่งนี้
-  ในสมัยร .5 ที่บริเวณนี้เป็นโรงนาหลวง
- หลัง ร.5 สวรรคต ร.6 โปรดให้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี หรือพระพันปีหลวงมาประทับที่วังแห่งนี้
-  วังแห่งนี้เคยมีผู้อาศัยถึง 500 คน ซึ่งดูอบอุ่นมาก
- เมื่อพระพันปีหลวงสิ้นพระชนม์ ร.6 ทรงโปรดให้รื้ออาคารบางส่วนออก และทรงใช้พระราชวังแห่งนี้ในด้านวรรณกรรมและการปกครอง ซึ่งจะได้ทราบต่อไปจากการอ่านรีวิวนี้ :) 


ห้องที่เดิม ร.6 เคยใช้ประทับ จะสามารถสังเตุได้จาก ตราด้านบน รร6 ซึ่งหมายถึง รามาธิปดีที่ 6 หรือ ร.6 นั่นเอง


วิทยากรยังแนะนำให้ดูพระบรมสาทิสลักษณ์นี้ด้วยว่า มีเรื่องราวแฝงอยู่ในนี้มากมายนัก
พระสาทิสลักษณ์นี้ ถูกวาดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งหลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมถึงทรงใส่ฉลองพระองค์สีแดง เหตุผลนั้นก็คือความเชื่อตามโบราณราชประเพณีนั่นเอง  สมัยก่อนคนไทยมีตำราชื่อ    "สวัสดิรักษา" ซึ่งตำราดังกล่าว กล่าวว่าหากจะทำการด้านสงครามควรใส่ชุดสีแดง  นอกจากนี้พระหัตถ์ขวาทรงถือใบมะตูมที่เหมือนตรีศูรที่มีพลังอำนาจ และเหน็บใบชัยพฤษ์ที่มีความหมายของชัยชนะ  และแล้วไทยก็เป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1  สามารถปลดสนธิสัญญาเบาริงที่ทำให้เราเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (คนต่างชาติทำผิดใช้กฎหมายชาตินั้น) ไปได้


มายัง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์


เป็นพระที่นั่งที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างคริสค์และอิสลาม ซึ่งมักเห็นได้ในตุรกี เช่น อายาโซเฟีน


เข้ามาภายใน สีที่เห็นเป็นสีที่บูรณะให้ใกล้เคียงของเดิม  พระที่นั่งนี้มีชั้นบนด้วย เดิมใช้เป็นแกลอรี่ คล้ายๆกับพระที่นั่งแห่งหนึ่งในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมแต่ก็ยังแฝงกลิ่นไอความเป็นไทยอยู่ และมีความละเอียดด้วย จากภาพ มีลายแกะ  Fleur de Lille หรือดอกลิลลี่ หลายคนคงคุ้นกัน เพราะเป็นตราที่ใช้แพร่หลาย ไม่ว่าจะตราลูกเสือ ในดาวินชีโค้ด หรือ ตราโรงเรียนคอนแวนท์


เสามีลักษณ์คล้ายด้ามวชิราวุธ



พระตำหนักเมขลารูจี  ขออภัยไม่ทราบรายละเอียด -_-"

จากนั้นมายังพระที่นั่งศรีสุทธนิวาส เป็นวังสำหรับเจ้านายฝ่ายใน (มีแต่ผู้หญิง) สามารถสังเกตได้จากลายดอกไม้ ด้านบนประตู หรือในห้อง ตามภาพด้านล่าง ภายในใช้ศิลปะแบบนีโอคลาสิค คือ นำความเป็นกรีกและโรมันมาผสมผสาน






เตียงโบราณ


โต๊ะเครื่องแป้ง





ภาพที่เห็นไม่ใช่คุก แต่เป็นตู้เซฟ จากอังกฤษนะครับ



ห้องดนตรีไทย


โถงทางเดิน ถูกปรับเปลี่ยน เพราะวังถูกใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปในแต่ละยุคสมัย เดิมทางเดินนี้จะมีหน้าต่างปิดทึบไม่ให้ด้านนอกมองเห็น เพราะจะเป็นทางที่ฝ่ายในเดินข้ามมายังอีกฝั่ง แต่ต่อมาวังแห่งนี้ถูกเปลี่ยนเป็นโรงหมอด้วย เมื่อเป็นโรงพยาบาล การมีหน้าต่างจึงไม่เหมาะสมเพราะจะอับและอากาศไม่ถ่ายเท จึงถูกเอาออก แต่ก็ยังเห็นขอบหน้าต่างและวงกบอยู่ 



หม้อไหด้านบน เปรียบดังไหบูรณะกะตะ ซึ่งสื่อถึงความเป็นมงคลและสารพัดนึก


ภาพวาดบนเพดานจะใช้เทคนิคเฟรสโก้เหมือนแถบยุโรป แต่อาจไม่สัมฤทธิ์ผลมากนัก เนื่องจาก ประเทศไทยมีอากาศที่แปรปรวน











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น